วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

บางคล้า


อำเภอบางคล้า เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบางคล้ามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

[แก้]ประวัติ

อำเภอบางคล้าเป็นอำเภอใหญ่อำเภอหนึ่ง เดิมแบ่งเขตการปกครองเป็นสองอำเภอ คือ อำเภอหัวไทรและอำเภอบางคล้า จนถึงปี พ.ศ. 2447 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชโองการยุบอำเภอหัวไทรลง อำเภอบางคล้าเดิมตั้งอยู่ที่วัดใหม่บางคล้า ตำบลบางสวนในปัจจุบัน ต่อมาทางราชการเห็นว่าที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไม่อยู่ในบริเวณศูนย์กลาง จึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลเตาสุราซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน

เขื่อนรัชชประภา


เขื่อนรัชชประภา มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อก่อนสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร”
เขื่อนรัชชประภา สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยพื้นทีส่นใหญ่ติดอุทยานแห่งชาติเขาสกเกือบทั้งหมด เป็น เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง มีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 3,057 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวมกำลัง การผลิต 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
เขื่อนรัชชประภา เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันพุธที่ 30 กันยายน 2530 แต่เดิมนั้นสามารถเดินทางได้โดยจาก อำเภอพนม แต่เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวมีความสลับซับซ้อนประกอบด้วยเหวจำนวนมากเส้นทางดังกล่าวจึงต้องปิดตัวลงโดยปัจจุบันสามรถเดินทางโดยผ่านอำเภอบ้านตาขุน เขื่อนรัชชประภา เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้า และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศชาติ นอกจากนี้ยังเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ในปี พ.ศ. 2531




เขื่อนแก่งกระจาน


เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวกประชิดกับ ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางด้านเหนือน้ำ ของเขื่อนเพชรขึ้นไปตามถนน 27 กิโลเมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 58 เมตร ระดับสันเขื่อน 106 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ฐานตอนที่กว้างที่สุด 250 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
เขื่อนแก่งกระจาน อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 53 กิโลเมตร และห่างจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 3 กิโลเมตร เดินทางตามเส้นทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน





เขตบางขุนเทียน


เขตบางขุนเทียน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) และยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางใต้สุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

[แก้]ที่มาของชื่อเขต

มีคำบอกเล่าว่า บริเวณนี้เคยเป็นแหล่งชุมนุมกองเกวียนที่ไปมาค้าขายจากสุพรรณบุรี โดยทุกกองเกวียนจะมีผู้นำทำหน้าที่คุ้มกันประจำกองเรียกว่า “ขุน” บริเวณที่หยุดรวมกองเกวียนนี้ ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “บางขุนเกวียน” แล้วเพี้ยนเป็น “บางขุนเกียน” ต่อมาเขียนสะกดเป็น “บางขุนเทียน” ถึงทุกวันนี้ ยังมีความเห็นอีกว่า ชื่อบางขุนเทียน มาจากนามและตำแหน่งบุคคลว่า “ขุนเทียร” เป็นขุนนางรักษาสวนหลวง ที่คงมีส่วนเข้ามาดูแลสวนบริเวณพื้นที่คลองบางขุนเทียนนั่นเอง

[แก้]ประวัติศาสตร์

อำเภอบางขุนเทียน เป็นอำเภอที่เก่าแก่ สันนิษฐานว่าก่อตั้งในปี พ.ศ. 2410 เดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ (บริเวณริมคลองด่าน คลองดาวคะนอง และคลองบางขุนเทียน) มีความเจริญและมีชุมชนเพิ่มขึ้น ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดในปี พ.ศ. 2508
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางขุนเทียนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มีเขตการปกครอง 7 แขวง ได้แก่ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด แขวงท่าข้าม แขวงบางบอน และแขวงแสมดำ
ต่อมาในพื้นที่เขตมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงตั้งสำนักงานเขตบางขุนเทียน สาขา 1 ดูแลพื้นที่ 4 แขวง ซึ่งได้แยกออกไปเป็นเขตจอมทองในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย แยกแขวงบางบอนออกไปตั้งเป็นเขตบางบอน

ความเป็นมาวัดหัวกระบือ


Slide 1

เชิญเที่ยวชมตลาดน้ำวัดหัวกระบือ ในเขตวัดหัวกระบือ ถ.บางขุนเทียน-ชายทะเล กรุงเทพมีของกินของใช้จากในพื้นที่ขายเช่น อาหารทะเล กุ้ง ปู ปลา สดๆ จากฟาร์มในเขตบางขุนเทียนและยังมีโปรแกรมนั่งเรือเที่ยวออกปากอ่าว

รถย่อมสึกหรอไปตาม กาลเวลาอันสืบเนื่องมาจาก ความไม่เที่ยง ของวัตถุ แต่ถ้าอยากจะให้คนรุ่นหลังได้รู้จักกับสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้กับคนสมัยก่อนนั้นเราจึงต้องเก็บรักษาหรือนำมาบูรณะใหม่

มาดูสุสานหัวกระบือนับพันกว่าตัวที่ส่งโรงฆ่าสัตว์ตัวกระบือทุกตัวถูกเชือดตายแล้ว นำมาเก็บไว้เป็นสุสาน และที่มาของเรียกชื่อวัดว่า วัดหัวกระบือ ทางวัดหัวกระบือ ได้จัดมีโครงการทำบุญไถ่ชีวิตควาย กระบือ วัว และสัตว์เลี้ยงทุกตัว

เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์แผนไทยโบราณ ประเภท เภสัชกรรมไทยเวชกรรมและการนวดแผนไทย ตรงตามตำราประกอบโรงศิลปะสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยจัดการเรียนการสอนเป็นหลายระดับ สามารถนำไปประกอบกิจการได้จริง
ศีรษะกระบือ หรือที่ชาวบ้านเรียก หัวกระบือ นั้นเป็นชื่อของคลองและหมู่บ้าน ทั้งยังเป็นชื่อของวัดในหมู่บ้านที่อยู่ริมคลองหัวกระบือ ซึ่งแยกมาจากคลองด่านตั้งอยู่ในแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ มีกิจกรรมหลายอย่างเช่น ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา ไถ่ชีวิต โค-กระบือ ปั่นจักรยานท่องเที่ยว ดูฝูงลิงแสม(คุณกะลา) ดูสุสานหัวกระบือ ดูพิพิธภัณฑ์รถเบนซ์ ตลาดน้ำวัดหัวกระบือชาวบ้านแถวนั้นมาขายของกันเอง แหล่งอาหารทะเล

ชายทะเลบางขุนเทียน


เที่ยวกรุงเทพฯ ชายทะเลบางขุนเทียน

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของเอเชีย คราคร่ำไปด้วยตึกรามบ้านช่องและถนนที่กว้างใหญ่ หากแต่ในความวุ่นวายของเมืองหลวงแห่งนี้ ยังมีพื้นที่เล็กๆ อีกมุมหนึ่งซึ่งเป็นสถานที่อันเงียบสงบและยังคงความเป็นธรรมชาติอันสวยงามอยู่เป็นอย่างมาก เรากำลังพูดถึงทะเลกรุงเทพฯ หรือที่รู้จักกันว่าชายทะเลบางขุนเทียนซึ่งอยู่ในพื้นที่แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครนี่เอง
image
สำหรับการเดินทางไปชมป่าชายเลนบางขุนเทียนนั้นเริ่มจากที่ถนนพระราม 2 เลี้ยวเข้าถนนบางขุนเทียน-ชายทะเลซึ่งในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงลาดยางเสร็จสมบูรณ์ตลอดทั้งเส้นแล้ว ขับรถตรงเข้าไปประมาณ 15 กิโลเมตรจนสุดทาง จะพบ 3 แยกให้เลี้ยวขวา (ทางไปสมุทรสาคร) และตรงไปอีกเพียง 200 เมตรจะพบกับโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ สามารถนำรถเข้าไปฝากจอดในโรงเรียนได้ ตรงข้ามโรงเรียนจะพบทางเข้าชุมชนคลองพิทยาลงกรณ์ จากจุดนี้สามารถเลือกที่จะเดิน เช่ารถจักรยานจากทางโรงเรียน หรือจ้างรถจักรยานยนต์ให้เข้าไปส่งก็ได้ โดยต้องเดินทางเข้าไปด้านในระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ลักษณะเส้นทางเป็นถนนคอนกรีตขนาดเล็กสำหรับให้คนและรถจักรยานยนต์สัญจร เมื่อมาสุดทางจะพบกับชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งสร้างเป็นสะพานไม้ทอดผ่านเข้าไปในป่าชายเลนมีปลายทางที่ริมทะเล มีระยะทางโดยรวม 1.7 กิโลเมตร สำหรับสะพานไม้นี้จัดสร้างโดยเขตบางขุนเทียนบนพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสมาชมและศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศป่าชายเลน โดยผู้ที่นำรถจักรยานหรือจักรยานยนต์เข้ามาจะต้องจอดรถไว้ที่บริเวณทางเข้า ไม่อนุญาตให้ขับขึ้นไปบนสะพานทางเดิน
image
บรรยากาศตลอดเส้นทางชมป่าชายเลนมีความร่มรื่นจากการที่สองข้างทางมีต้นโกงกางและแสมขนาดใหญ่ปกคลุมอย่างหนาแน่น นอกจากนี้ยังมีศาลาสำหรับนั่งพักผ่อนอยู่เป็นระยะ สิ่งหนึ่งที่ผู้เยี่ยมชมป่าชายเลนจะได้ยินเสมอคือเสียงดัง ป๊อก-แป๊กอยู่เป็นช่วงๆ ซึ่งเกิดจากกุ้งชนิดหนึ่งที่มีก้ามขวาขนาดใหญ่มีชื่อเรียกว่ากุ้งดีดขัน และยังมีสัตว์อื่นๆ ที่พบได้ในพื้นที่นี้ เช่น ปลาตีน ปูก้ามดาบ หอยชนิดต่างๆ ส่วนบริเวณริมทะเลสามารถพบนกได้หลายชนิด เช่นนกยางและนกนางนวล ซึ่งถือได้ว่าป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันป่าชายเลนผืนนี้กำลังถูกทำลายไปจนแทบจะหมดสิ้นแล้ว จากข้อมูลที่สำรวจโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าในอดีตกรุงเทพมหานครเคยมีป่าชายเลนประมาณ 2,750 ไร่ แต่ต่อมาได้มีการนำพื้นที่บริเวณนี้ไปจัดสรรและพัฒนาเป็นที่ดินทำกิน เช่นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำนาเกลือ รวมไปถึงการขยายตัวของชุมชน นอกจากนี้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงและต่อเนื่องอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโดยรวมก็เป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนกรุงเทพฯ ลดลงไปอย่างมาก โดยพบว่าปัจจุบันกรุงเทพมหานครเหลือพื้นที่ป่าชายเลนไม่ถึง 1,000 ไร่ โดยป่าเหล่านี้มีลักษณะเป็นหย่อมเล็กๆ ส่วนพื้นที่ป่าเดิมจมอยู่ในน้ำทะเลหมดแล้ว
image
เมื่อเราเดินมาใกล้ถึงปลายทางซึ่งเป็นจุดชมวิวทะเล จะได้ยินเสียงเครื่องเรือของชาวบ้านแว่วมาในระยะไม่ไกล แสงสว่างจากท้องทะเลส่องผ่านปากทางร่มไม้สองข้างที่โอบตัวเป็นเหมือนอุโมงค์ เมื่อพ้นบริเวณร่มไม้มาแล้วจะพบศาลานั่งเล่นขนาบอยู่ทั้งสองข้างของทางเดินและปรากฏผืนน้ำทะเลอยู่เบื้องหน้า ซึ่งแม้น้ำทะเลจะไม่ได้มีสีสันสวยงามเหมือนแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อแห่งอื่น แต่ที่แห่งนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นทะเลแห่งเดียวของเมืองหลวงอันทันสมัยนี้ โดยสะพานไม้จะทอดยาวออกไปในทะเลและที่สุดทางทำเป็นจุดยืนชมวิว โดยเมื่อมองออกไปในระยะไม่ไกลจะพบฝูงนกยางและนกนางนวลกำลังพักผ่อนและหาอาหารอยู่บริเวณแนวชายฝั่งเป็นจำนวนมาก
image
นอกจากการเดินศึกษาเส้นทางป่าชายเลนแล้ว สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่พลาดไม่ได้ในการมาเที่ยวชมทะเลกรุงเทพฯ ครั้งนี้คือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตบางขุนเทียนซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์นั่นเอง ซึ่งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งนี้ มีการจัดแสดงประวัติความเป็นมา รวมไปถึงข้อมูลสถานที่ต่างๆ ของเขตบางขุนเทียนเอาไว้อย่างละเอียด โดยมีการแยกหมวดหมู่การจัดแสดงไว้ดังนี้: ภาพรวมกรุงเทพฯ, บางขุนเทียนบนเส้นทางประวัติศาสตร์, สวนบางขุนเทียน, ชาวพื้นเมืองในบางขุนเทียน, บุคคลสำคัญของบางขุนเทียน, สถานที่สำคัญของบางขุนเทียน, ทะเลกรุงเทพฯ, และบางขุนเทียนวันนี้ นอกจากนี้ภายในพื้นที่ด้านหลังของโรงเรียนยังได้มีการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนบางขุนเทียน โดยมีการปลูกพืชชายเลนชนิดต่างๆ และจำลองวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่เขตบางขุนเทียนมาจัดแสดงให้ชมอย่างครบวงจร เรียกได้ว่าเป็นการย่อส่วนป่าชายเลนและชุมชนท้องถิ่นมาไว้ให้ชมได้ภายในพื้นที่จำลองแห่งนี้นั่นเอง นอกจากนี้ผู้เยี่ยมชมยังสามารถทดลองปลูกป่าชายเลนภายในแปลงสาธิตในบริเวณเดียวกันนี้ได้อีกด้วย
      
       ก่อนเดินทางกลับเรายังได้แวะไปเที่ยวชมบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของชาวบ้านและสัมผัสวิถีชีวิตการทำกินของคนในพื้นที่ ซึ่งในบริเวณนี้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ หอยแครง และปูม้าอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังสามารถหาซื้อวัตถุดิบอาหารทะเลเหล่านี้ติดมือกลับบ้านได้ในราคาย่อมเยา หรือหากต้องการสัมผัสวิถีชีวิตลูกน้ำเค็มชาวบางขุนเทียนอย่างใกล้ชิดมากขึ้น สามารถติดต่อขอค้างคืนแบบโฮมสเตย์ได้ที่บ้านในชุมชนแสนตอได้อีกด้วย ซึ่งการมาเยี่ยมชมป่าชายเลนและทะเลกรุงเทพฯ นอกจากจะได้มาเที่ยวทะเลโดยไม่ต้องขับรถไปไกลแล้ว ยังได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีโอกาสชิมอาหารทะเลที่อร่อยในราคาไม่แพงไปพร้อมกัน เห็นอย่างนี้แล้ววันว่างโอกาสต่อไป หากยังนึกจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวไม่ออกหรือไม่อยากเดินทางไปไกล อย่าลืมนึกถึงชายทะเลบางขุนเทียนที่แสนสงบแห่งนี้ที่ซึ่งรอคอยการมาเยี่ยมชมของท่านเสมอ

แม่กลอง


แม่น้ำแม่กลอง เป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งในภาคตะวันตก เกิดจากแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม และไหลลงสู่ปากอ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร พื้นที่รับน้ำที่ปากแม่น้ำแม่กลอง 30,106 ตารางกิโลเมตร
มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 30,837 ตร.กม. หรือ 19.45 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม บางส่วนของจ.สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร อุทัยธานี และ ตาก ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 7,973 ล้าน ลบ.ม.
ลุ่มน้ำแม่กลองแบ่งออก เป็นลุ่มน้ำย่อย 14 ลุ่มน้ำย่อย ได้แก่ แม่น้ำแควใหญ่ (1,445 ตร.กม.) ห้วยแม่ละมุง (910 ตร.กม.) ห้วยแม่จัน (862 ตร.กม.) แม่น้ำแควใหญ่ตอนกลาง (3,380 ตร.กม.) แม่น้ำแควใหญ่ตอนล่าง (4,094 ตร.กม.) ห้วยขาแข้ง (2,320 ตร.กม.) ห้วยตะเพียน (2,627 ตร.กม.) แม่น้ำแควน้อยตอนบน (3,947 ตร.กม.) ห้วยเขย็ง (1,015 ตร.กม.) ห้วยแม่น้ำน้อย (947 ตร.กม.) ห้วยบ้องตี้ (477 ตร.กม.) แม่น้ำแควน้อยตอนกลาง (2,042 ตร.กม.) ลำภาชี (2,453 ตร.กม.) ทุ่งราบแม่น้ำแม่กลอง (4,318 ตร.กม.)




อัมพวา


อัมพวา

ตลาดน้ำ อัมพวา
ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
     ตลาดน้ำอัมพวา นับว่าเป็นจุดที่ท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์อีกแห่งหนึ่งในอำเภอ อัมพวา เป็นสถานที่ ที่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจ การเที่ยวตลาดน้ำอัมพวานั้น สามารถทำได้ทั้งยามเช้าและยามเย็น ซึ่งจะให้บรรยาการที่แตกต่างกัน นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศนิยมที่จะมาพักค้างคืนแบบโฮมสเตย์








เกาะเสม็ด


เกาะเสม็ด เป็นเกาะในตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของระยอง ที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและต่างประเทศ อยู่ห่างจากชายฝั่งบ้านเพประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,125 ไร่ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เชื่อกันว่าคือเกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ อาจเป็นเพราะที่เกาะเสม็ดนี้มีหาดทรายขาวละเอียดอยู่ทั่วไป เหตุที่ชื่อว่าเกาะเสม็ดก็เพราะมีต้นเสม็ดขาวและเสม็ดแดงขึ้นอยู่มาก ชาวบ้านนำมาใช้เป็นไต้เพื่อจุดไฟ
บนเกาะเสม็ดไม่มีแม่น้ำลำคลอง เป็นภูเขาและป่าไม้เบญจพรรณ ประมาณ 80% ของพื้นที่ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน ช่วงเดือนพฤษภาคมมีมรสุมและคลื่นลมจัดมาก เดือนสิงหาคมมีฝนตกชุกส่วนใหญ่เป็นชาวเกาะที่อาศัยอยู่แต่ดั่งเดิม ใช้ชีวิตอยู่กับทะเลลักษณะแบ่งปันกันรู้จักกันแบบทุกบ้าน




เกาะลันตา


อำเภอเกาะลันตา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในระดับโลก โดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรปและสแกนดิเนเวีย เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวยุโรปนิยมมาท่องเที่ยวและพักผ่อนยังเกาะลันตาใหญ่ ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเกาะลันตาใหญ่ มีอัตราการเจริญเติบโตสูงอันดับต้นของประเทศและของภูมิภาค
นอกจากโรงแรมและรีสอร์ตระดับ 5 ดาว ที่มีอยู่ยังไม่สามารถรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนั้นยังได้มีการลงทุนในที่อยู่อาศัยระดับหรูมูลค่าสูง ประเภทวิลล่า และบ้านพักตากอากาศในพื้นที่เกาะลันตาเป็นจำนวนมาก และในอนาคตอันใกล้คาดว่าจะมีโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวระดับ High Class ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่จะเดินทางมาเที่ยวยังเกาะลันตา เนื่องจากมีโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมในทุกด้านเช่น สนามบินนานาชาติ ท่าเรือยอร์ช และโครงการยอร์ชมาริน่าซึ่งจะเกิดขึ้น และเป็นที่น่ายินดีที่เกาะลันตาได้มีโอกาสต้อนรับบุคคลที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลก ที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวและพักผ่อนยังเกาะลันตา เช่นแองเจลินา โจลี และแบรด พิตต์ ดาราฮอลลีวูดระดับโลกที่เคยมาท่องเที่ยวที่พักผ่อนยังเกาะที่ได้ชื่อว่า[1] หรือ "เกาะอัญมณีแห่งเอเชีย" อันเป็นสมญานามที่เป็นที่กล่าวถึงในระดับโลกอยู่ในขณะนี้
ล่าสุดนิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับเกาะลันตาใหญ่ให้เป็น 1 ใน 6 เกาะที่น่าเดินทางมาพักผ่อน




เกาะลังกาวี

เกาะลังกาวี (ภาษามลายู: Langkawi) ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ใกล้ฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือ ของคาบสมุทรมาเลเซีย อยู่ในรัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ห่างจากเกาะตะรุเตา เพียง 4 กม. ซึ่งใกล้กับชายแดนไทย อยู่ห่างจากเมือง กัวลาเปอร์ลิสประมาณ 30 กม. และเมืองกัวลาเคดะห์ 51 กม. ประกอบด้วยกลุ่มเกาะเมืองร้อนจำนวน 99 เกาะ เกาะใหญ่รู้จักทั่วไปในชื่อว่า เกาะลังกาวี



เกาะล้าน

เกาะล้าน เป็นเกาะในอ่าวไทย อยู่ในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ในแนบขนานกับหาดพัทยา ห่างจากชายฝั่งเมืองพัทยาเพียงเจ็ดกิโลเมตร เป็นชายหาดที่นักท่องเที่ยว ชอบมาเล่นกีฬาทางน้ำ เช่น เรือลาก เรือสกี ดำน้ำดูปะการัง

อำเภอเกาะสีชัง


ประวัติ

  • เกาะสีชังเป็นเกาะขนาดเล็กที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เกาะหนึ่งของประเทศไทยเนื่องจากเคยเป็นสถานที่เสด็จประพาสและเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินของกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 พระองค์ คือ
  1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
  2. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
  3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ และนอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ประสูตรพระราชโอรส (เจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ) และสร้างพระราชวังจุฑาธุช ณ เกาะแห่งนี้อีกด้วย

[แก้]ที่มาของชื่อ

เรื่องราวที่เกี่ยวกับชื่อของเกาะสีชังนั้น เป็นภาษาที่ถือเอาความหมายได้ยากยิ่ง แม้แต่ปราชญ์ทางภาษาก็เพียงแต่ตั้งข้อสันนิษฐานถึงความหมายและที่มาของคำว่า "สีชัง" ไว้ดังนี้
  • สีชัง เป็นภาษาของชนชาติหนึ่งที่เป็นชนเผ่าของเขมร เรียกว่า สำแล โดยอาศัยหลักชาติพันธุ์วิทยาเป็นข้อสันนิษฐานเท่านั้น และไม่ทราบความหมายที่แท้จริง
  • สีชัง มาจากภาษาจีน คือ ซีซัน ซึ่งหมายถึง สี่คนทำไร่ โดยมีเรื่องราวเล่าว่ามีพ่อค้าเรือสำเภาจีน 4 นาย ล่องเรือค้าขายมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในธุรกิจการค้ามาตั้งรกราก และหันมาประกอบอาชีพทำไร่อยู่บนเกาะ ซึ่งต่อมาคำว่า "ซีซัน" จึงแผลงมาเป็น "สีชัง"
  • สีชัง มาจากคำว่า "สีห์ชงฆ์" ซึ่งหมายถึง แข้งสิงห์ เพราะเกาะนี้มีรูปร่างคล้ายแข้งสิงห์
  • สีชัง มีตำนานเชื่อว่า ฤๅษีองค์หนึ่งเกิดเบื่อหน่ายโลกีย์วิสัย มาพำนักบำเพ็ญพรตจนมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือชาวบ้าน ต่อมาจึงเรียกเกาะนี้ว่า "เกาะฤษีชัง"
ประวัติเกาะสีชัง นาม "สีชัง" หน้าที่ ๑ อันนาม"สีชัง" นี้ จะมีมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัด เท่าที่พบหลักฐานจากหนังสือ กำสรวลศรีปราชญ์ ซึ่งแต่งไว้เมื่อราวปี พุทธศักราช ๒๒๓๕ เรียกเกาะสีชังว่า สระชัง ดังในโคลงบทที่ ๗๘ได้พรรณนาถึง เกาะสีชังไว้ดังนี