วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลากัด


ปลากัดภาคกลาง หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลากัด เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบ Ctenoid ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง
มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

น้ำตกป่าละอู

น้ำตกป่าละอูอยู่ทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในท้องที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ห่างจากหัวหินประมาณ 60 กิโลเมตร ใกล้หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กจ.3 (ห้วยป่าเลา) บริเวณนี้ทางอุทยานแห่งชาติจัดให้มีพื้นที่กางเต็นท์ บ้านพัก และค่ายพักแรม


ทุ่งดอกกระเจียว


  :: อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ::
          ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพังเหยในเขต   ต.บ้านไร่  อ.เทพสถิต  จ.ชัยภูมิ จากกรุงเทพฯ   ใช้เส้นทางสระบุรี - ชัยบาดาล   ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 205   เส้นทางชัยบาดาล - เทพสถิต - ชัยภูมิ     ก่อนถึงอำเภอเทพสถิต จะมี ทางแยกซ้ายมือไปป่าหินงาม อีก  29  กิโลเมตร     หากเดินทางเส้นทางจาก จ.นครราชสีมา   ก็จะใช้เส้นทางนครราชสีมา - เพชรบูรณ์     โดยจะวิ่งผ่าน ต.หนองบัวโคก    ผ่านบ.คำปิง เข้าสู่อำเภอเทพสถิต     และเลี้ยวขวาบริเวณ สามแยกเพื่อจะไปในเส้นทาง เทพสถิต - ซับใหญ่      และหากท่านมาจากตัว เมืองชัยภูมิ ก็ต้องใช้เส้นทาง ระเหว - ซับใหญ่ - เทพสถิต     เมื่อออกจากตัว กิ่งอ.ซับใหญ่จะถึงทางแยกขึ้นอุทยานฯ ก่อนที่จะถึง อ.เทพสถิต... 
 :: แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ::
<< ป่าหินงาม >> 
             "ป่าหินงาม" หรือ   (ลานหินงาม)    อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ทำการอุทยานฯ ทั่วบริวเวณเรียงรายไปด้วยหินก้อนน้อย ใหญ่ รูปร่างแปลก ๆ มากมายในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นลานหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะดิน  และเนื้อหินทรายมานานนับลานปี   วาง เรียงรายสลับซับซ้อน  อยู่เต็มลานบ้างก็มีรูปรา่างเหมือนกับถ้วยฟุตบอลโลก  บ้างก็เหมือนกบเรด้า  และรูปต่าง ๆ แล้วแต่จะ จินตนาการ  แต่เมื่อดูแล้วชวนให้เกิดความเพลิดเพลินใจเป็นยิ่งนัก... 
<< ทุ่งดอกกระเจียว >> 
                  "ทุ่งดอกกระเจียว"  เกิดจากดอกกระเจียวป่า หลากหลายสายพันธุ์  ที่พร้อมใจกันขึ้นรายรอบบริเวณ ของอุทยานฯและจะมีอยู่บริเวณหนึ่งใช้พื้นที่หลายไร่     ที่จะมีดอกกระเจียวขึ้นอย่างหนาแน่นจนกลายเป็นทุ่ง    ซึ่ง เวลามองดูก็จะเห็นเป็นสีชมพูปนขาว   และมีสีเขียวของลำต้ันและก้านใบเป็นสีเขียวสด   ประกอบกับสีเขียว ของหญ้าทีขึ้นมาแซม ทำให้ทุ่งกระเจียว เขียวขจี สวยงามเหมือนกับทุ่งในทรวงสวรรค์เลย              โดยในช่วงฤดูฝน เริ่มต้นเดือนมิถุนายน     ถึง ปลายเดือนกรกฎาคม ของทุก ๆ ปี    ต้นกระเจียวจะออก ดอกสวยงามตระการตาไปทั่วผืนป่า  จัดได้ว่าเป็น   "นางเอกของอุทยานฯ"  ก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะดอกกระเจียว จะไม่มีให้เห็นเลยนอกเสียจากในช่วงเวลาที่ว่านี่เท่านั้น...
<< จุดชมวิวสุดแผ่นดิน >> 
             "สุดแผ่นดิน"  อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานฯ  เป็นแนวหน้าผาและชะง่อนหิน   เป็นจุดสูงสุดบนเทือกเขา พังเหย  สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  846 เมตร  เกิดจากการดันตัวของแผ่นดินภาคกลาง  (ฉานไทย)  ซุกเข้าไปใต้แผ่นดิน อีสาน (อินโต - ไซน่า)  ทำให้เกิดแผ่นดินที่ยกตัวสูงชัน  เรียกว่า  "สุดแผ่นดิน"  คือเขตรอยต่อของ  3 ภาคอันได้แก่
             1.  แผ่นดินซีกทางอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ชัยภูมิ  (ภาคอีสาน)
             2.  แผ่นดินซีกทางตะวันตกของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ลพบุรี  (ภาคกลาง)
             3.  แผ่นดินซีกทางเหนือของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.เพชรบูรณ์  (ภาคเหนือ)ซึ่งมีความสวยงาม อากาศเย็นสบาย  และในตอนเช้า ๆ จะมีกลุ่มหมอกลอยผ่านหน้าเราไป  เหมือนกับหยอกเย้ากับผู้มาเยือนเลย
   ใกล้ถึงหน้า  "เทศกลาล ท่องเที่ยวดอกกระเจียวบาน"  ประจำปีี 2554 แล้วนะครับ เหลืออีกไม่กี่วัน ที่เราจะได้ชื่นชมความสวยงามของดอกกระเจียว      ซึ่งจะ็บานสะพรั่ง สวยงามจริง ๆ ครับ...ผมก็เป็นอีก คนหนึ่ง หล่ะ ที่ชื่นชม ความงามของสถานที่ท่องเที่ยว   แห่งนี้ มาเป็นระยะเวลาช้านานโข ปีนี้ ถ้าฝน ฟ้า ตกต้องตามฤดูกาล   ที่มันควรจะเป็น      เหล่าบรรดาเจ้าดอกกระเจียวน้อย-ใหญ่ซึ่งกบดานอยู่ใต้พื้นแผ่นดินนับแรมปี  ก็จะมีโอกาสโผล่ขึ้นมาอวดโฉมอัน   สะโอดสะอง ยังกะมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ด     ที่กำลังจะประกวด กันเลยทีเดียวยิ่ิง ถ้าฝนตกชุกหน่อย       พื้นดินเปียกชุ่มเจ้าดอกกระเจียวที่แสนสวยของเราก็จะขึ้น เยอะเต็มท้องทุ่งเลย  มองไปทางไหนก็จะมีแต่สีเขียวชะอุ่ม และสีชมพูแกมขาว  สวยอย่าบอกใครเลย     ถึงแม้ว่าปีกลาย ดอกกระเจียว      จะ มาช้าไปซักนิดนึง แต่เจ้าดอก กระเจียวก็เริ่มทะยอยชูช่อ ยันดอกออกมาให้เราๆ ท่านๆ ได้ยลโฉมกันแล้ว    และสำหรับ ท่านใด ที่ยังไม่เคยมาเยี่ยมเยือนทุ่งดอก กระเจียวธรรมชาติแ้ห่งเดียว ในโลกปีนี้ก็อย่าพลาดนะครับ ตัดสินใจช้า  ท่านอาจจะพลาด โอกาสดี ๆ ที่หนึ่งปีจะมีแค่ครั้งเดียว เท่านั้น ที่อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม และอุทยานแห่งชาติไทรทอง ซึ่งทั้งสองที่ ก็มี ความ แตกต่างกันไปใครชอบความสะดวก

ทุ่งกุลาร้องไห้

ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ อยู่ในเขต จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม) , จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย) , จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอพุทไธสง) , จังหวัดศรีสะเกษ , จังหวัดยโสธร (อำเภอมหาชนะชัย) และ จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ และ อำเภอโพนทราย) การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินก็เป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้