วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

การไฟฟ้า

ประวัติ
องค์กรที่ดำเนินกิจการไฟฟ้าในระยะแรก มี 2 แห่ง ได้แก่
การไฟฟ้ากรุงเทพ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2430 นายจอห์น ลอฟตัส กับ นาย เอ. ดู เปลซี เดอ ริเชอเลียว รับสัมปทานการเดินรถรางจากรัฐบาล เนื่องจากยังไม่มีไฟฟ้าจึงต้องใช้ม้าลาก ทำให้ดำเนินได้เพียงระยะหนึ่ง ต้องเกิดการขาดทุน จึงโอนกิจการให้บริษัทเดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2435 บริษัทเดนมาร์กได้เปลี่ยนมาใช้รถรางไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2437 ขณะนั้นประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปยังไม่มีรถรางไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2443 บริษัทเดนมาร์กขายกิจการให้แก่ บริษัท บางกอกอีเล็คตริคซิตี้ ไลท์ ซินดิเคท และโอนกิจการให้บริษัทไฟฟ้าสยาม จำกัด ในปี พ.ศ. 2444 โดยทำสัญญากับรัฐบาลสยามเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 และ ได้มีการแก้ไขสัญญากับ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2467[2] ต่อมา เมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไฟฟ้าสยามคอร์ปอเรชั่น จำกัด [3] จนกระทั้ง เมื่อ 28 กันยายน พ.ศ. 2482 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไฟฟ้าไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อสัมปทานหมดอายุลงเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 รัฐบาลจึงเข้าดำเนินงานแทนและเปลี่ยนชื่อมาเป็น การไฟฟ้ากรุงเทพ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่ผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของคลองบางกอกน้อยและคลองบางลำภูเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2493
กองไฟฟ้าหลวงสามเสน เดิมชื่อ กองไฟฟ้าสามเสน กำเนิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาล และผู้บังคับบัญชากรมสุขาภิบาลในขณะนั้น ดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายแก่ประชาชน นอกเหนือจากการจ่ายไฟฟ้าให้โรงกรองน้ำสามเสน บริเวณพระราชวังดุสิต และ โรงทำยาฝิ่นที่สามเสน (ปัจจุบันคือบริเวณ กรมสรรพสามิต) สมัยที่ฝิ่นยังเป็นของถูกกฎหมาย โดยให้มีการจัดการเช่นการค้าขายทั่วไป หรือรัฐวิสาหกิจในปัจจุบัน เมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)ในฐานะผู้บังคับบัญชากรมสุขาภิบาล จึงกู้เงินจากกระทรวงการคลัง สมัยที่ยังเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จำนวน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี โดย นำกำไรจากการขายไฟฟ้ามาชำระหนี้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และ ได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2455) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการดำเนินงานผลิตจำหน่ายกระแสไฟฟ้า แต่ ที่สุด ต้องกู้เงินเพิ่ม อีก 1 ล้านบาท เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2457) เพราะ ที่ประมาณไว้แต่เดิมนั้นไม่พอกับงานที่ต้องทำจริง กองไฟฟ้าหลวงสามเสนจึงได้เริ่มทดลองเดินเครื่องจักรผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นครั้งแรก โดยใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากบริษัท AEG ส่งแรงไฟให้โรงยาฝิ่นหลวงเพื่อหารายได้เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2457) จากนั้นจึงเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประชาชน เมื่อกรกฎาคม พ.ศ. 2457 โดยมีเขตจำหน่ายอยู่บริเวณสุขาภิบาลฝ่ายเหนือ อันได้แก่บริเวณตอนเหนือของคลองบางกอกน้อย คลองบางลำภู คลองมหานาค และ คลองแสนแสบ ตามที่ได้ตกลงกันไว้กับบริษัทไฟฟ้าสยาม จำกัด ซึ่งได้มีการตกลงกันไว้ ตั้งแต่เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 แม้ว่ากว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างจริงจังก็เมื่อ 6 มกราคม พ.ศ. 2464 [4] นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน ได้จำหน่ายไฟฟ้าให้ โรงกรองน้ำสามเสนเมื่อ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 แต่ กว่าผู้รับเหมา ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะส่งมอบงานให้กรมสุขาภิบาลได้โดยสมบูรณ์ ก็ 20 มีนาคม พ.ศ. 2457 (นับอย่างใหม่ ปี พ.ศ. 2458) จากนั้น โรงไฟฟ้าสามเสนได้จำหน่้ายไฟฟ้าให้โรงงานบางซื่อของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด เมื่อ พ.ศ. 2458 [5] และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประกอบพระราชพิธี เปิดโรงไฟฟ้าสามเสน อย่างเป็นทางการเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2458 [6]
ต่อมารัฐบาลสมัย พลเอกถนอม กิตติขจร ได้รวมองค์การทั้งสองเข้าด้วยกันเป็น การไฟฟ้านครหลวง เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2501[7] ซึ่งได้มีการแก้ไขกฏหมายเพิ่มเติมเมื่อ ปี พ.ศ. 2530 [8]และ ปี พ.ศ. 2535 [9]

[แก้] การให้บริการ

มีการให้บริการ 18 เขต[10] และ 14 สาขาย่อย

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
  2. ^ เอกสารชั้นต้นเลขที่ น. 7/6.74 เรื่องหนังสือสัญญาบริษัทไฟฟ้าสยาม ของ กระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6 จากกรมราชเลขานุการ (เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  3. ^ "เรื่องจดทะเบียนบริษัทจำกัด บริษัทในพระบรมราชานุญาตพิเศษ" (ในภาษาThai). ราชกิจจานุเบกษา 44 (ฉบับที่ ง): 453. 2011-05-28. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/D/453.PDF. 
  4. ^ เอกสารชั้นต้นเลขที่ น. 7/6.75 เรื่องบริษัทไฟฟ้าสยาม (24 พ.ค. 2458 - 16 ก.ย. 2467) ของ กระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6 จากกรมราชเลขานุการ (เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  5. ^ เอกสารชั้นต้นเลขที่ น. 7/6.3 ตั้งโรงไฟฟ้าของรัฐบาล (15 ต.ค. 2453 - 28 เม.ษ. 2458) ของ กระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6 จากกรมราชเลขานุการ (เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  6. ^ "ข่าวในพระราชสำนัก" (ในภาษาThai). ราชกิจจานุเบกษา 32 (ฉบับที่ ง): 2261. 2011-05-28. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2261.PDF. 
  7. ^ "พระราชบัญัติการไฟฟ้านครหลวง" (ในภาษาThai). ราชกิจจานุเบกษา 75 (ฉบับที่ 58): 1. 2011-05-28. http://61.19.241.65/DATA/PDF/2501/A/058/1.PDF. 
  8. ^ "พระราชบัญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ 2)" (ในภาษาThai). ราชกิจจานุเบกษา 104 (ฉบับที่ 164): 1. 2011-05-28. http://61.19.241.65/DATA/PDF/2530/A/164/30.PDF. 
  9. ^ "พระราชบัญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ 3)" (ในภาษาThai). ราชกิจจานุเบกษา 109 (ฉบับที่ 32): 32. 2011-05-28. http://61.19.241.65/DATA/PDF/2535/A/032/13.PDF. 
  10. ^ สถานที่ตั้งการไฟฟ้านครหลวงเขต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น