วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

โอ่งมังกร

ตำบลด่านเกวียนในสมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอย และได้ทำสืบต่อมาจนปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงาม มีรูปแบบที่แปลกและหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินดำสัมฤทธิ์ที่มีเอกลักษณ์ของสีเป็นเครื่องปั้นแบบด่านเกวียนโดยเฉพาะไว้ นักท่องเที่ยวนิยมไปชมวิธีการผลิตและซื้อหาเครื่องปั้นดินเผาขนาดต่างๆอยู่เสมอ
เป็นชุมชนชนบทผสมผสานกับชุมชนเมือง เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก ช่วงวันหยุดจะมีคนมาท่องเที่ยว ซื้อของกันเป็นจำนวนมาก ร้านค้าร้านอาหารจะมีมากบริเวณแหล่งซื้อของฝาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของบ้านด่านเกวียน กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโชคชัย ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2532 ต่อมาปี พ.ศ.2544 นายชรินทร์ เปลี่ยนกระโทก ได้พยายามรวบรวมผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผา ช่างปั้น ช่างเขียนลาย ช่างสี เพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มในแต่ละชุมชน และเชื่อมโยงกันเป็น เครือข่ายในระดับตำบล แต่มีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก และต่างทำในเชิงธุรกิจทำให้รวมตัวกันยาก แต่นายชรินทร์ ก็ยังคงเป็นแกนนำที่บุคคลภายนอกติดต่อผ่านอยู่เสมอ และยังมีความตั้งใจรวมกลุ่มเครือข่ายเพื่อให้เหนียวแน่นมากขึ้น




ภาพที่ 6.7 แสดงลักษณะการตลาดของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านด่านชัย ตำบลด่านเกวียน
อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา (ที่มา : http:// www. Thaitambon.com)
     3.5 ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านด่านชัย ทำมาจากดินเหนียวที่มีคุณภาพดี ปั้นด้วยความประณีต สวยงาม แข็งแรง ทนทาน มีให้เลือกมากมาย เช่น แจกันลายบัว แจกันคนโท แจกัน หูห่วง ฯลฯ
นำดินเหนียวผสมดินปนทรายในอัตรา 1: 2 ทิ้งไว้ 2 คืน แล้วใช้เครื่องนวดดินให้เข้ากัน แล้วปั้นผึ่งไว้ในที่ร่มพอหมาด จึงแกะลายแล้วปล่อยให้แห้ง นำเข้าเตาเผาอุณหภูมิ 800-1,250 องศา รอให้เย็นแล้วลงสีตามต้องการเคยได้รับรางวัลหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร “หมู่บ้านดีเด่น”
    
      3.6 กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดินเผาบ้านเกาะน้อย ตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยตำบลหนองอ้อ ราษฎรส่วนใหญ่อยู่บริเวณที่ราบฝั่งแม่น้ำยม การคมนาคมในสมัยก่อน อาศัยการเดินเรือในการติดต่อซื้อขายกัน สาเหตุที่เรียก ต.หนองอ้อ เพราะบริเวณริมฝั่งแม่น้ำยมมีต้นอ้ออยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่าบ้านหนองอ้อ และตำบลหนองอ้อ ตั้งอยู่ในเขต อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านป่ายาง บ้านคลองปากร้าว บ้านหนองอ้อ หมู่ที่ 3,4 บ้านเกาะน้อย หมู่ที่ 5,6 บ้านดงยาง และบ้านปางถ่าน
บ้านเกาะน้อย ยังเป็นสถานที่อีกหนึ่งแห่งที่ได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผา เป็นชุมชนท้องถิ่นที่มีการรวมตัวกันของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา จะเห็นได้ว่ากระบวนการต่างๆ มีการร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจ
กลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเกาะน้อยได้เริ่มทำเมื่อ พ.ศ. 2527 โดยการแนะนำของชาวออสเตรเลียชื่อ นาย ดอน ไฮน์ และคณะ ระยะแรกมีคนไทยเพียง 5 คน และปีต่อมาในการดำเนินงานประสบความสำเร็จ สามารถปั้น และคิดค้นน้ำยาเคลือบได้เอง เป็น ที่สนใจของนักท่องเที่ยวทั้งใน และต่างประเทศมาทัศนศึกษากันเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านตื่นตัวและสนใจการปั้นเครื่องปั้นดินเผาดังนั้นจึงได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นในระยะแรกมี สมาชิก 18 คน และปัจจุบันมีสมาชิก 80 คน




ภาพที่ 6.8 แสดงลักษณะผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่มีสินค้าทางการตลาดของบ้านเกาะน้อย ตำบล หนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (ที่มา : http:// www. Thaitambon.com)
     นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาสี่ล้าน หมู่ที่ 8 ต.หนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ได้มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ที่ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาเหมือนกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ของบ้านเกาะน้อย ในการประกอบธุรกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเขาสี่ล้านจะเป็นจำพวก ภาชนะต่างๆ อาทิเช่น ถ้วยชาม แจกัน ฯลฯ
     3.7 กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดินเผาบ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
บ้านทุ่งหลวงเป็นหมู่บ้านที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยราษฎรมีอาชีพทำนาเป็นหลัก หลังจากฤดูทำนาชาวบ้านจะนำดินเหนียวที่มีอยู่ในพื้นที่ มาปั้นด้วยมือเป็นของใช้ต่างๆ เช่น กระถาง โอ่งน้ำหม้อดิน อ่าง ฯลฯ และเมื่อเหลือใช้แล้วก็หาบไปแลกเปลี่ยนกับของกินของใช้อื่นๆ กับหมู่บ้านใกล้เคียงเมื่อเป็นที่ต้องการมากขึ้น มีการพัฒนารูปแบบ และวิธีการผลิต จนถึงปัจจุบัน มีการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วยในการผลิต
ตำบลทุ่งหลวง เป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอคีรีมาส เป็นการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ 1 บ้านหัวราวป่าแค, หมู่ 2 บ้านหน้าวัดลาย, หมู่ 3 บ้านหลังวัดลาย, หมู่ 4 บ้านท่ามะเกลือ, หมู่ 5 บ้านทุ่งหลวง 1, หมู่ 6 บ้านวัดกลาง, หมู่ 7 บ้านทุ่งหลวง 2, หมู่ 8 บ้านวัดบึง 1, หมู่ 9 บ้านวังยาง, หมู่ 10 บ้านหน้าวัดบึง 2, หมู่ 11 บ้านหนองอ้อ, หมู่ 12 บ้านหนองเกียง, หมู่ 13 บ้านหนองหมี
เป็นอีกหนึ่งแห่งที่มีการทำเครื่องปั้นดินเผา นอกจากเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเกาะน้อยบ้านเขาสี่ล้าน แล้วยังมีบ้านทุ่งหลวงอีกที่หนึ่งที่ได้มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผา
บ้านทุ่งหลวง หมู่ที่ 2 เป็นตำบลหนึ่งที่อยู่ในเขตอำเภอคีรีมาศ ถือเป็นแหล่งอุตสาหกรรมในครัวเรือน ที่มีชื่อเสียงอีกแหล่งหนึ่งที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผา แต่ด้วยรูปแบบการผลิตที่เรียบง่ายในอดีตขาดความชำนาญงาน และเทคนิคในการผลิตที่ดี ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพต่ำ ไม่แข็งแรง กองส่งเสริมหัตถกรรมไทย และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เข้ามาช่วยเหลือในด้านการออกแบบ จัดการตลาดเพิ่มทักษะให้ราษฎรทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของตลาด จึงได้จัดตั้งกลุ่มอาชีพขึ้น 5 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีประธานกลุ่มเป็นผู้ดูแลและดำเนินการให้กลุ่มกู้เงินทุนหมุนเวียน แนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการ การออกแบบ ฯลฯ ในปัจจุบันหมู่บ้านทุ่งหลวง สามารถพัฒนาตนเองจนกลายเป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่น ผลิตภัณฑ์งดงามเป็นที่ต้องการของตลาด และพัฒนารูปแบบจนมีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 4,500 บาทต่อเดือน
มีสภาพและรูปแบบความเป็นอยู่ง่ายๆ ยังชีพด้วยการทำเกษตรกรรม แต่ด้วยสภาพดินที่เอื้ออำนวยต่อการทำเครื่องปั้น แทบทุกครัวเรือนในเขต บ้านทุ่งหลวง หมู่ที่ 2 จะผลิตเครื่องปั้นดินเผาอยู่ใต้ถุนบ้าน มีเตาเผาแบบโบราณอยู่ข้างบ้าน มีควันที่เกิดจากการเผาสลับขึ้นบ้านโน้นบ้านนี้อยู่เป็นนิจ ในช่วงเช้าเย็นจะมีรถของพ่อค้าคนกลางวิ่งมารับซื้อผลิตภัณฑ์ถึงที่

     4. การตลาดที่รัฐบาลสนับสนุน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบเครือข่ายและอินเตอร์เนต เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบเครือข่ายและอินเตอร์ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนที่เข้มแข้ง พึ่งตนเองได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างงานสร้างรายได้ ด้วยการนำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตท้องถิ่น
แนวคิด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นแนวคิดที่เน้นขบวนการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ตำบลและส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์โดยมี กิจกรรมการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการตลาด การผลิต การบริหารจัดการ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านการผลิตให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและต้องการของตลาดสากล โดยท้องถิ่นต้องพึ่งตนเองเป็นหลัก
การจัดกลไกลการบริหาร กระบวนการ และโครงสร้างการดำเนินงาน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ พ.ศ.2544 มีกลไกการบริหารที่เชื่อมโยงกันลงไปถึงในระดับพื้นที่ ส่วนกลาง คือ คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ) มีภารกิจหลัก คือ คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบล ร่วมทั้งการสนับสนุนเพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บท
       4.1 การคัดเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
การดำเนินการเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ และขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลต่างๆ เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยเป็นผู้คัดเลือกผลิตภัณฑ์โดยกระบวนการประชาคมในระดับตำบล ในเบื้องต้นทุกจังหวัดได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์เด่นของตำบลต่างๆทั่วประเทศ และจังหวัดได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีเด่นระดับจังหวัดไว้ จำนวน 925 ผลิตภัณฑ์รวมทั่วการบูรนาการบัญชีผลิตภัณฑ์เด่นของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีหลายหน่วยงานดำเนินการ ให้เป็นการบัญชีหลักเพียงบัญชีเดียว ในขั้นต้นนี้มีผลิตภัณฑ์ที่จะประกาศรับรองมาตรฐาน
       4.2 การสร้างรายได้ในชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกจังหวัดส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในทุกพื้นที่ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อก้าวสู่ความเป็นสากล สำหลับเป้าหมายสำคัญที่ กอ.นตผ มุ่งส่งเสริมคือ การจำหน่วยสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2544 มียอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ชุมชน 215,549,534 บาท ภายหลังจากที่คณะกรรมการ กอ.นตผ ได้เริ่มดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแล้ว ปรากฏมียอดจำหน่ายในรอบ 9 เดือน (ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง กันยายน 2545) มียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้น เป็นเงิน ทั้งสิน 16,714,848,168 บาท จำแนกรายการจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์เป็นรายเดือนได้ดังนี้


ตารางที่ 6.2 แสดงการสรุปผลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ปีงบประมาณ 2545
(ข้อมูล ณ 25 กันยายน 2545)
(ที่มา : คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งปี หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ), ม.ป.ป.)
       4.3 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
       4.3.1 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่า เพิ่มแก่ผลิต กอ นตผ.      จึงเสริมให้ทุกจังหวัดดำเนินการสนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้รับมาตรฐาน อันได้แก่มาตรฐาน อย. มาตรฐาน มอก. มาตรฐาน ฮาลาล รหัสสากล และมาตรฐานอื่นๆ เช่น ลิขสิทธ์ทางปัญญา เครื่องหมายรับรองสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เครื่องหมายเลขที่จดแจ้งของศูนย์วิจัยการแพทย์ เกียรติบัตร ฯลฯ โดยมีผลงานรวมถึงเดือนกันยายน 2545 จำนวน 3,621 ผลิตภัณฑ์แยกรายละเอียด ดังนี้


ตารางที่ 6.3 แสดงลักษณะแผนภูมิการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
(ที่มา: คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งปี หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ), ม.ป.ป.)
        4.3.2 การส่งเสริมและพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อการส่งออก
การส่งเสริมการตลาดได้รับงบประมาณจากเงินทุนการค้าระหว่างประเทศ ปี 2545 จำนวน4,050,000 บาท เพื่อพัฒนาบุคลากร พัฒนาสินค้าและช่องทางการตลาด โดยจัดฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานในรูปของกลุ่มจังหวัด 11 ครั้ง

       4.4 การสร้างช่องการจำหน่ายสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
           4.4.1 จุดจำหน่ายสินค้า คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ) ดำเนินการทางกระจายสินค้าในระดับภูมิภาค โดยให้ทุกจังหวัดดำเนินการประสารงานกับชุมชนท้องถิ่นและภาคเอกชนร่วมกันจัดหาจุดจำหน่ายสินค้า เพื่อสร้างรายได้แก่ประชาชน ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า สถานีบริการน้ำมัน ศูนย์สาธิตการตลาด ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ร้านค้าชุมชน ร้านค้าทั่วไป


ตารางกราฟที่ 6.4 แสดงลักษณะแผนภูมิช่องทางจำหน่ายสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
(ที่มา : คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งปี หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ) , ม.ป.ป.)
ภาพที่ 6.9 การทำตุ๊กตาชาววังที่ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุทธยา
ภาพที่6.10 แสดงลักษณะผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่มีสินค้าทางการตลาดของบ้านเกาะน้อย ตำบล
หนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (ที่มา : http:// www. Thaitambon.com)
ภาพที่ 6.11 เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง (ที่มา: เซรามิกส์ ปีที่1 ฉบับที่1 มกราคม-เมษายน2538)

ภาพที่ 6.12 โอ่งมังกรราชบุรี(ที่มา: เซรามิกส์ ปีที่1 ฉบับที่1 มกราคม-เมษายน2538)

ภาพที่6.13 ผลิตภัณฑ์เบญจรงค์ (ที่มา : http:// www. Thaitambon.com)

สรุป
       การตลาดเครื่องปั้นดินเผายังมีความต้องการจากผู้บริโภค เป็นจำนวนมากทั้งนี้มีปัจจัยที่ต้องมองควบคู่กับ การตลาดคือคุณภาพสินค้า ที่ได้การยอมรับจากผู้บริโภคและกำหนดเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้า การตลาดจะเป็นเอกลักษณ์ในการจูงใจที่ดีต้องมีการส่งเสริมจิตวิญญาณ ลงในชิ้นงานให้ดีที่เป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ การตลาดเป็นหัวใจของระบบ การผลิตเครื่องปั้นดินเผาเพราะยุคปัจจุบันจะมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการตลาดในยุคสมัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีข้อมูลทางด้านอินเตอร์เนต เวพไซค์ ต่างๆ ให้ข้อมูลทั่วถึงทุกมุมโลก เป็นการตลาดที่ต้องอาศัยหลักของระบบการบริหาร จัดการเข้ามาช่วยให้เกิด ความสำเร็จในธุรกิจมากยิ่งขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น