วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปาล์มน้ำมัน
African Oil Palm (Elaeis guineensis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Liliopsida
อันดับ:Arecales
วงศ์:Arecaceae
สกุล:Elaeis
Jacq.
Species
Elaeis guineensis
Elaeis oleifera
ปาล์มน้ำมัน (Oil palm) เป็นพืชตระกูลปาล์มลักษณะลำต้นเดี่ยว ขนาดลำต้นประมาณ 12 -20 นิ้ว เมื่ออายุประมาณ 1-3 ปี ลำต้นจะถูกหุ้มด้วยโคนกาบใบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นโคนกาบใบจะหลุดร่วงเห็นลำต้นชัดเจน ผิวของลำต้นคล้ายๆ ต้นตาล ลักษณะใบเป็นรูปก้างปลา โคนกาบใบจะมีลักษณะเป็นซี่ คล้ายหนามแต่ไม่คมมาก เมื่อไปถึงกลางใบหนามดังกล่าวจะพัฒนาเป็นใบ การออกดอกเป็นพืชที่แยกเพศ คือต้นที่เป็นเพศผู้ก็จะให้เกษรตัวผู้อย่างเดียว ต้นที่ให้เกษรตัวเมียจึงจะติดผล
ลักษณะผลเป็นทะลายผลจะเกาะติดกันแน่นจนไม่สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปที่ก้านผลได้ เวลาเก็บผลปาล์มจึงต้องใช้มีดงอเกี่ยวที่โคนทะลายแล้วดึงให้ขาด ก่อนที่จะตัดทะลายปาล์มต้องตัดทางปาล์มก่อนเพราะผลปาล์มจะตั้งอยู่บนทางปาล์ม กระบวนการตัดทาง(ใบ)ปาล์มและตัดเอาทะลายปาล์มลง เรียกรวมๆ ว่า แทงปาล์ม ปาล์มน้ำมันจัดเป็น พืชเศรษฐกิจ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นพืชที่ให้ผลผลิต น้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด
สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นทั้งในรูปแบบของน้ำมันพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ครีมและเนยเทียม เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน ไบโอดีเซลรวมถึงเป็นส่วนผสมในเพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และยังสามารถแปรรูปเป็น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ต่างๆ และอาหารสัตว์ ด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีก [1]
ในประเทศไทยมีการปลูกทั้งทางภาคใต้และภาคตะวันออก พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา โดยเฉพาะที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงปี 2547 - 2550 มีการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาร้าง โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีการขุดร่องให้ฟรี ให้พันธุ์และปุ๋ย โดยให้เหตุผลในการส่งเสริมการปลูกเนื่องจากเป็นปาล์มที่ให้นำมันใช้ได้ทั้งการบริโภคและใช้เป็นไบโอดีเซลได้โดยประเทศที่ปลูกปาล์มนำมันได้แก่ อินโดนีเซีย 50ล้านไร่ มาเลเซีย 35ล้านไร่ ส่วนไทย 5.5ล้านไร่ปัจจุบันภาครัฐของไทยมีเป้าหมายจะปลูกปาล์มให้ได้ทั้งสิ้น 10ล้านไร่ภายในปี 2572 จากพื้นที่มีศักยภาพ ทั้งสิ้น 20ล้านไร่
ปัจจุบัน ประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลกคือประเทศมาเลเซีย ผลิตเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 47 ของการผลิดของโลก

ดูเพิ่ม[แก้]

ปาล์มน้ำมันแต่ละต้นจะกำหนดปริมาณการให้ช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมีย ล่วงหน้า 33 เดือน โดยขึ้น กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันนั้น ๆ ได้รับ เช่น หากต้นปาล์มได้รับน้ำ ในปริมาณที่เหมาะสมในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวเมียมากกว่าช่อดอกตัวผู้ ในทางกลับกัน หากต้นปาล์มนั้น ๆได้รับน้ำ ในปริมาณที่ไม่เพียงพอในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวผู้มากกว่าช่อดอกตัวเมีย ซึ่งช่อดอกทั้ง ตัวผู้และตัวเมียที่ถูกกำหนดล่วงหน้านี้จะไปผลิออกเป็นช่อดอกในอีก 33 เดือนข้างหน้า ดังนั้น ปาล์มที่ปลูกโดยอาศัยน้ำ ฝนจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว จะให้ผลผลิตตามปริมาณน้ำ ฝนที่ได้รับ ยิ่งถ้าพื้นที่ที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีช่วงฝนแล้ง หรือขาดน้ำ หลายเดือน ปาล์มนั้น ๆ ก็จะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมาก หรือแทบไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย ต้นปาล์มจะมีลักษณะสูงเร็ว เพราะไม่ต้องสูญเสียธาตุอาหารในการออกลูกออกผลปาล์มน้ำมันที่ขาดน้ำ เป็นระยะเวลาหลายเดือน จะให้แต่ช่อดอกตัวผู้ หรือแทบจะไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย แม้ว่าเราจะให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา ก็ไม่สามารถแก้ไขให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ได้ เพราะปริมาณการออกช่อดอกตัวเมียได้ถูกกำหนดไว้แล้วเมื่อ 33 เดือนที่แล้วตามปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวได้รับ แต่การให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา จะไปมีผลให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ในอีก 33 เดือนข้างหน้าอย่างไรก็ตามหากช่อดอกตัวเมียที่ออกมา กระทบกับช่วงฤดูแล้ง หรือภาวะต้นปาล์มขาดน้ำ ช่อดอกตัวเมียดังกล่าวก็อาจจะฝ่อไม่ให้ผล เพื่อลดการสูญเสียน้ำ

อายุปลูกลงดิน 1 ½ - 3 ½ ปี: ต้นปาล์มจะเริ่มออกดอก ให้ผลผลิต มีผลปาล์มออกดกรอบต้น เนื่องจากต้นปาล์มได้น้ำ จากแปลงเพาะต้นกล้า ในช่วงอายุปลูกประมาณ 2 ½ ขึ้น ไป การกำหนดปริมาณช่อดอกตัวผู้-ตัวเมีย จะขึ้น อยู่กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มได้รับบนแปลงปลูกนั้น ๆ(น้ำ จากฝน และการรดน้ำ )
อายุปลูกลงดินประมาณ 3 ½ ปี เป็นช่วงปาล์มขาดคอ ต้นปาล์มจะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมากเป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน ขึ้น อยู่กับสภาพภูมิอากาศและการได้รับน้ำ ในแปลงปลูกนั้น ๆ

อายุปลูกลงดิน 4 – 7 ปี ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีจะเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้น ๆเรื่อย ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้ง ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกอย่างถูกต้อง รวมทั้ง ถ้ามีการให้น้ำ ได้ตลอดทั้ง ปี ปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปีที่รับประกันเอาไว้โดยผู้ผลิตแต่ละแหล่ง สามารถที่ จะรับประกันได้ที่อายุต้นปาล์ม 8 ปี


อายุปลูก8 ปีขึ้น ไป ปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้ง ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอกอย่างถูกต้อง และถ้ามีการให้น้ำ ได้ตลอดทั้ง ปี ปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปี ต้องได้ตามปริมาณที่แต่ละแหล่งผลิตรับประกันด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากวิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มที่ต้นสูงมาก ไม่สามารถใช้เสียมแทงปาล์มได้ต้องใช้เคียวตัดทางใบล่างออกก่อนแล้วจึงจะสามารถใช้เคียวตัดทะลายปาล์มลงมาได้ด้วยวิธีดังกล่าว จะทำให้ต้นปาล์มมีทางใบน้อยลง เสมือนมีขนาดโรงครัวปรุงอาหารเล็กลง ทำให้ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตน้อยลงตามไปด้วย
การให้นํ้ากับต้นปาล์มนํ้ามันในปริมาณที่เหมาะสม
จากการศึกษาทางวิชาการ เสนอไว้ว่า ปาล์มน้ำมันแต่ละต้นต้องการน้ำ วันละ200 ลิตรซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับเกษตรกรที่จะต้องจัดหาน้ำ ปริมาณดังกล่าว เพื่อใช้รดให้กับต้นปาล์มน้ำมันอูติพันธุ์พืชเสนอให้ใช้วิธีสังเกตยอดต้นปาล์มที่มียอดแหลม ไม่คลี่ออก คล้ายหอก หากปรากฏว่าปาล์มน้ำมันต้นใดมียอดแหลม ไม่คลี่ คล้ายหอก สูงในระดับใกล้เคียงกัน มากกว่า 2 ยอดหอกแสดงว่าปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวขาดน้ำ แล้ว ต้องให้น้ำ แก่ต้นปาล์มนั้น ๆมากขึ้นลักษณะการให้น้ำ ด้วยท่อพีอี พันรอบลำต้นปาล์มและใส่หัวฉีดขนาดเล็กจำนวน 3 หัว พ่นน้ำ หันออกจากลำต้นทำให้ไม่เกะกะและเสียหายจากการเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันลักษณะของยอดปาล์มที่แหลม ไม่คลี่ใบออก คล้ายหอกหากมียอดหอกดังกล่าว ที่มีความสูงระดับใกล้เคียงกันมากกว่า 2 ยอด แสดงว่าปาล์มอยู่ในภาวะขาดน้ำ หรือได้รับน้ำ ไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มการให้น้ำ http://www.banpalmnakarin.com/บ้านปาล์มนครินทร์

  

วังไกลกังวล

ประวัติ[แก้]

"วังไกลกังวล" เดิมเป็นพระราชวังส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากพระคลังข้างที่ ให้สร้างขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2469 เพื่อพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดย หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการศิลปากรสถานในขณะนั้นเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ในรัชกาลที่ 7 ทรงออกพระนามเรียกวังแห่งนี้ว่า สวนไกลกังวล และในตราสัญลักษณ์ของวังเมื่อ พ.ศ. 2472 ได้ออกนามว่า พระราชวังไกลกังวล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีพระบรมราชโองการประกาศยกเป็นพระราชวัง ดังนั้น จึงยังคงเรียกว่า วังไกลกังวล

พระตำหนักและอาคารประกอบ[แก้]

  • พระตำหนักเปี่ยมสุข เป็นพระตำหนักตึกแบบสแปนิชสูงสองชั้นพร้อมทั้งหอสูง เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ปัจจุบันเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  • พระตำหนักน้อย เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของ สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯและพระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี พระบิดามารดาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี โปรดเสด็จไปประทับพักผ่อนเมื่อตามเสด็จไปหัวหิน และเคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
  • พระตำหนักปลุกเกษม เป็นตำหนักโปร่ง ๆ แบบไทยปนสมัยใหม่ มีห้องนอนหลายห้องด้านหลัง ตั้งโต๊ะและเก้าอี้หมู่ และใกล้ ๆ กันนั้นมีห้องน้ำและห้องส้วมชั้นล่างมีห้องอีกหลายห้องเหมือนกัน สำหรับหม่อมเจ้าหญิงที่เป็นโสด ซึ่งใกล้ชิดในราชสำนักโดยเสด็จพระราชดำเนินไปตากอากาศด้วย ปัจจุบัน เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • พระตำหนักเอิบเปรม เอมปรีย์ เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ซึ่งพระตำหนักมีลักษณะชั้นเดียวคู่ฝาแฝด การก่อสร้างและการวางห้องเครื่องใช้ คล้ายคลึงกันตำหนักฝาแฝดนี้เตี้ยเกือบติดพื้นดินซึ่งสร้างเป็นแบบบังกาโลสำหรับตากอากาศชายทะเลอย่างแท้จริง
  • ศาลาเริง เป็นศาลาเอนกประสงค์สำหรับเลี้ยงพระ พระราชทานเลี้ยง ทรงกีฬา ทรงดนตรีทั้งไทยเดิมและเทศ จัดฉายภาพยนตร์ที่ทรงถ่าย รวมไปถึงภาพยนตร์ต่างประเทศ การ์ตูนสำหรับเด็กในพระราชอุปการะ พร้อมจัดงานรื่นเริงและการแสดงต่าง ๆ
  • ศาลาราชประชาสมาคม เดิมเรียกว่า อาคารอเนกประสงค์ มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ใต้ถุนโล่ง ชั้นล่างใช้เป็นลานจัดกิจกรรม ชั้นบนเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ สำหรับให้ข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทได้โดยไม่ต้องเสด็จฯกลับกรุงเทพมหานคร เช่น พิธีพระราชทานกระบี่ของนักเรียนนายร้อย เป็นต้น ในปี พ.ศ.2556 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกนามว่า "ศาลาราชประชาสมาคม" เพื่อใช้ในการเสด็จออกมหาสมาคมในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในต่างจังหวัดและในวังแห่งนี้ เป็นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน นอกจากนี้ยังใช้ประกอบพิธีและพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ได้หลายครั้ง
ปัจจุบัน วังไกลกังวลเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในช่วงฤดูร้อนของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกนามเรียกวังแห่งนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง "ทองแดง" ไว้ว่า "วังไกลกังวล"
   

วังน้ำเขียว

วังน้ำเขียว
"วังน้ำเขียว" สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ คุณเคยไปมาแล้วหรือยัง  ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เพียง 2 – 3 ชม. เดินทางจากผ่านจ.ฉะเชิงเทรา เข้า อ.นาดี(ปราจีนบุรี) บนทางหลวงสาย 304 คลิ๊ก การเดินทางวังน้ำเขียว
     วังน้ำเขียว ผมเองวางแผนที่จะเดินทางมาสำรวจที่นี่อยู่หลายครั้งแต่มีอันต้องยกเลิกไป ความเป็นธรรมชาติโดยภูมิประเทศ ที่ราบสูงเนินเขาหากมองทางอากาศคงจะเป็นที่ทิวเขาลูกๆ สลับกับที่ราบ คงจะสวยไม่น้อย วังน้ำเขียวอยู่อีกด้านของเทือกเขาใหญ่ อากาศเย็นจากประเทศจีนจะพัดมาช่วงปลายฝน ผ่านมาทางที่ราบอีสานกระทบกับเทือกเขาใหญ่ ทำให้บริเวณ วังน้ำเขียวแห่งนี้เย็นตลอดทั้งปี ห้องพักรีสอร์ทบางแห่งจึงไม่จำเป็นต้องมีแอร์ เช่น วิลเลจฟาร์ม หากชอบบรรยากาศริมเขา อย่างเขาแผงม้า ก็ต้อง วิลล่าเขาแผงม้า หากชอบบรรยากาศบนเนินและสนามกว้างต้องที่ อิมภูฮิลล์ หรือบ้านไร่คุณนาย หากเป็นหมู่คณะแล้วสองที่หลังนี้เหมาะที่จะทำกิจกรรมได้ 
(ชมภาพและบรรยากาศรีสอร์ท คลิ๊ก 
ที่พักวังน้ำเขียว) หลังจากที่ผมได้สำรวจรีสอร์ทั้ง 4-5 ที่นี้แล้ว      ผมได้เดินถ่ายรูปไร่อรุ่นที่กำลังแทงช่อ ออกผล ทั้งสีเขียว สีม่วงจากต้น ดู ไร่อรุ่น คลิก ฟาร์มเห็ด รึไม่พลาดแน่นอน กับภาพมาโคสวย แต่เที่ยวเย็นไปหน่อย แสงไม่ค่อยพอ ถ่ายได้ไม่ค่อยดีนัก ก่อนออกแถวไทยสามัคคี แวะตลาดปากทางพอจะหาซื้อพืชผลทางเกษตรได้ น้ำองุ่น เห็ดต่างๆ ส่วนผมขอเห็ดออริจิสักสักโล ข้าวโพดนึ่ง กระท้อน แก้วมังกร สดจากไร่...
     วันรุ่งขึ้นหากมีโอกาส ควรขึ้นเขาแผงม้า ชมกระทิงป่า (เป็นสัตว์อนุรักษ์ ตามแคมเปญ ทททUnseen) ควรทราบว่า กระทิงพวกนี้จะออกมากินโป่งเช้าตรุ่ ประมาณ 6.00 น และ รอบเย็น 18.00 น. บวกลบสัก 1 ชม. คลิกดูรายละเอียด เขาแผงม้า      เขื่อนลำพระเพลิง บรรยากาศยามเย็นสวยงามไม่น้อยเมื่อแสงอาทิตย์ตกหลังเขาแสงทองอ่อนๆ กำลังลับขอบฟ้า โชคดีที่มีลมอ่อนๆโชยพัดมา บนผืนน้ำอันกว้างไกล มันก็สวยไปอีกแบบน้อ...
     รีสอร์ท แถววังน้ำเขียวนี้ มักจะปลูกไร่องุ่น ควบคู่ไปกับรีสอร์ท เนื่องจากอากาศเย็นตลอดทั้งปี องุ่นจึงเจริญเติบโตได้ผลผลิต OTOP ประจำอำเภอวังน้ำเขียว สินค้า ชอปปิ้งอื่น เช่น เห็ดหอม เห็ดนางรมหลววง (ออริจิ) เห็ดหลินจือ ผักเมืองปลอดสารพษ ที่ไร่ ลุงไกร ฟาร์มเห็ดหอมบ้านบุไทร ฟาร์มกล้วยไม้ ฟาร์มดอกหน้าวัว ฯลฯ
 
จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวคือ
     วังน้ำเขียว มี 5 ตำบล ตำบลต่างๆ ประกอบด้วย ตำบลวังน้ำเขียว ตำบลไทยสามัคคี ตำบลอุดมทรัพย์ ตำบลวังหมี และตำบลระเริง และมีพื้นที่ติดต่อกับ อำเภอนาดี อำเภอปักธงชัย อำเภอปากช่อง อำเภอเสิงสาง และอำเภอครบุรี

     ภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นสลับกับพื้นที่ราบเนินเขาความสูงเฉลี่ย 200 -700 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะพื้นที่ลอนหรือลูกคลื่นลอดลาด ระดับความสูงตั้งแต่ 300 - 400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ประมาณร้อยละ 45 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียวพื้นที่เนินเขาและภูเขา ระดับความสูง 400-700 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 55 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว